Pages

Tuesday, May 5, 2015

Assignment 2


ปัญหาจากขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอย?

       ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะ

ปัญหาไฟไหม้
        จากปัญหาขยะมีจำนวนมากกว่าสถานที่กำจัดทำให้บ่อขยะกลายเป็นสถานที่พักขยะส่วนเกินเหล่านั้น จากในตอนแรกออกแบบเป็นแบบฝังกลบ(landfill) ก็กลายเป็นพื้นที่ทิ้งขยะแบบกลางแจ้ง(open dump) ซึ่งการนำขยะมาพักไว้กลางแจ้งนี้เองที่เป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหมบ่อขยะ


        • จำนวนครั้งที่เกิดไฟไหม้บ่อพักขยะ




ปัญหาน้ำเน่าเสีย
        ปัญหาการใช้น้ำเสียจากขยะนั้น เกิดจากการที่นำขยะมูลฝอยไปทิ้งไม่ถูกวิธี เช่น เอาไปกองรวมกันไว้ตามสถานที่ต่างๆ ทำให้เกิดการหมักหมมเนื่องจากขยะมูลฝอยประกอบด้วยเศษอาหาร และของเน่าเสีย เมื่อฝนตกชะลงมารวมกับขยะก็ก็กลายเป็นน้ำเสียไหลลงสู่ผิวดินส่งผลให้ และซึมลงแหล่งน้ำใต้ดินอีกด้วย
แนวทางการแก้ปัญหา
 -    แยกขยะก่อนทิ้ง ไม่ทิ้งขยะไว้นอกถังขยะ เลือกใช้ถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
 -    กรองเศษอาหารก่อนทิ้ง และใช้ดักไขมัน โดยนำเศษอาหารและไขมันที่กรองไว้ไปใช้ทำเป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ต่อไป


ปัญหาแหล่งพาหะนำโรค และทัศนียภาพในชุมชน
        ปัญหานี้หากเกิดในชุมชนอาจไม่ใช้เรื่องใหญ่โต เพราะเห็นกันมาจนชินตา แต่สำหรับจังหวัดที่แหล่งท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักคงไม่ใช้เรื่องเล็กน้อย การทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางทำให้เกิดการหมักหมมเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู แมลงสาบ ทั้งยังส่งกลิ่นเหม็น และทำลายทัศนียภาพแก่ผู้ที่สัญจรไปมาา
 -    รณรงณ์การแยกขยะ เช่น 3R (Reduce, Reuse และ Recycle)
 -    เพิ่มจำนวนถังขยะให้มากขึ้น



สาเหตุของการเกิดปัญหาจากขยะมูลฝอย

ปริมาณ ปริมาณ ปริมาณ ปริมาณ ปริมาณ
       ปริมาณ สาเหตุของปัญหา ด้วยปริมาณของขยะมูลฝอยที่มีมากเกินไป เกินกว่าที่เราจะสามารถได้อย่างถูกวิธี

ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นตังแต่ปี 2008 ถึง 2014




ขยะจากชุมชน Vs ขยะจากอุตสาหกรรม




ระยะเวลาที่ขยะใช้ในการย่อยสลาย?



สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย?

       • การผลิตและใช้เกินความจำเป็น

       • ประชาชนยังกลัวขยะ ไม่มีใครอยากให้มีบ่อขยะ หรือโรงกำจัดขยะอยู่ใกล้บ้าน
       • ภาครัฐยังไม่มีสถานที่และวิธีการกำจัดขยะที่ถูกต้อง


              - จากกราฟจะเห็นได้ว่าแหล่งกำจัดขยะที่ถูกต้องนั้นมีเพียง 466 แห่งหรือเพียง 19% เท่านั้น แต่แหล่งกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องมีถึง 2024 แห่งหรือ 81% นี่เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ขยะมูลฝอยมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโดยเตาเผาขนาดใหญ่ที่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ มีเพียง 2 แห่งเท่านั้นและ เตาเผาขนาดเล็กที่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ (10ตัน/วัน) มีเพียง 8 แห่ง
       • คนยังมองขยะมีค่าน้อย ขยะบางชนิดสามารถนำไปขายได้ ขวด เศษกระดาษ
       • เทคโนโลยีที่ใช้ในการกำจัดขยะ ยังสามารถกำจัดได้แค่ขยะที่แยกแล้ว


แล้วขยะมาจากไหน?

   ชนิดของขยะ แบ่งตามแหล่งกำเนิด
       • ขยะชุมชน เช่น เศษอาหาร กระดาษ พลาสติก องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กทม. เทศบาล อบต. โดยที่ทิ้งขยะเทศบาล มี 2000 กว่าแห่ง กำจัดได้ถูกต้อง 400 กว่าแห่ง ส่วนใหญ่จะเอาไปกองทิ้งไว้ ไม่ได้ฝังกลบ หรือเปิดโล่งทิ้งไว้ เพราะจะถูกน้ำ เน่าเสีย มีกลิ่นและเชื้อโรค และถมไปเรื่อยๆ ที่ทิ้งขยะเต็ม
       • ขยะจากโรงพยาบาล (ขยะติดเชื้อ) กรมควบคุมมลพิษ มีหน้าที่ประสานกับกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลว่าโรงพยาบาลจะกำจัดเอง หรือจะส่งให้กับโรงกำจัดขยะของเอกชนกำจัด
       • ขยะจากอุตสาหกรรม ขยะจากโรงงานมี พรบ. โรงงานควบคุมอยู่แล้ว แต่ที่ยังมีปัญหาเพราะ โรงกำจัดขยะไม่ทั่วถึงไม่สามารถกำจัดขยะให้ได้กับทุกโรงงาน จึงเกิดการลักลอบนำขยะไปทิ้งรวมกับบ่อขยะชุมชน

แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง?

       โดยจากชนิดของขยะข้างต้นนั้นสิ่งที่เราทุกคนนั้นสามารถทำได้คือการลดปริมาณขยะ (ขยะชุมชน) ทิ้งให้น้อยลง 3R (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อให้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอน้อยลง ทำให้ลดภาระท้องถิ่นที่มาจัดการ

การจัดการขยะด้วยวิธี 3R
ประเภทของขยะ เราแบ่งขยะได้เป็น 4 ประเภท คือ
 • ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษวัชพืช เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ฯลฯ สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้
 • ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ฯลฯ
 • ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้และไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น โฟม ซองบะหมี่สำเร็จรูป เศษหิน เศษปูน ฯลฯ
 • ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย และขยะติดเชื้อ ฯลฯ ขยะเหล่านี้ต้องเก็บรวบรวม
  แล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี


จะลดปริมาณขยะได้อย่างไร?

       การแยกขยะ? โดยความหมายคือการแยกขยะไปที่นำไปรีไซเคิลได้ไปขาย นอกจะเพิ่มรายได้ให้กับเราแล้ว ยังสามารถลดปริมาณ ขยะ ที่ต้องนำไปกำจัดอีกด้วย


ลดปริมาณขยะด้วยหลักการสามประการ ( 3R ) คือ  
  • ลดการใช้ (Reduce)
  • การใช้ซ้ำ(Reuse)
  • การรีไซเคิล (Recycle)

ข้อดีของการแยกขยะด้วยวิธี 3R
ยกตัวอย่าง: จังหวัดกรุงเทพมหานคร
        1. กทม. มีภาระในการกำจะดขยะวันละ 8,700 ตัน/วัน เเสียค่าใช้จ่ายในการกำจักตันละ 1,000 บาท คิดเป็น 8,700,000 บาท/วัน
ซึ่งถ้าเรานำขยะมารี"ซเขิลก่อนทิ้งรวมกับขยะอื่น จะสามารถช่วยประหยัดงบการจัดการขยะมูลฝอย และลดปริมาณขยะได้ถึง 30%
หรือประมาณ 2,700 ตัน/วัน ช่วยประหยัดงบประมาณได้ 2,700,000 บาท/ปี
กราฟแสดงปริมาณขยะที่ลดลง 


        2. ประหยัดพื้นที่รองรับและกําจัดมูลฝอย การคัดแยกและนําขยะกลับมารีไซเคิล สามารถลดปริมาณ ขยะที่ต้องกําจัดโดยการฝังกลบถึง 2.6 ล้านตัน/ปี ประหยัดพื้นที่ฝังกลบได้อย่างน้อย ปีละกว่า 500 ไร่(ประเมินจากการฝังกลับอย่างถูกหลักสุขาภิบาล โดยการขุดหลุมลึกชั้ นละ 3 เมตรสูง 3 ชั้น และใช้ความหนาแน่นขณะบดอัด400KG/m3)
        3. การนําวัสดุรีไซเคิลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น ลดต้นทุนด้านพลังงานในการหลอมประมาณ
ร้อยละ 15


ราคาของขยะที่นำไปรีไซเคิลได้

1.แก้ว ขายได้ 1.70 บาท/กิโลกรัม
2.สังกะสี ขายได้ 6 บาท/กิโลกรัม
3.พลาสติก ขายได้ 13.5 บาท/กิโลกรัม
4.กระดาษ ขายได้ 5 บาท/กิโลกรัม
5.อะลูมิเนียม ขายได้ 35 บาท/กิโลกรัม
6.เหล็ก ขายได้ 8 บาท/กิโลกรัม
7.ทองแดง ขายได้ 220 บาท/กิโลกรัม


 

test 5401012610206

test link : https://bitbucket.org/mrbasszaa/example

Wednesday, March 11, 2015

How to post D3.js in blog?

D3.js in blog

เลือกว่า chart ของเราจะไปวาดอยู่ที่ไหน?
โดยจาก Tutorial ในหนังสือจะเลือกใช้เป็น body ซึ่งกราฟจะถูกวาดภายใน <body> ตรงนี้ </body> แต่ใน blog นั้นเราจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ในการวาดกราฟขึ้นมาเองโดยใช้ <div id="chart"> </div>  โดย chart นั้นก็คือชื่อที่เราตั้งไว้และเราไปกำหนดใน code ว่าเราจะไปวาดใน chart ตาม code ตัวอย่างด้านล่าง (บรรทัดที่ 17)

ตัวอย่างการวาด Pie Chart อย่างง่าย

  1. <script src="http://d3js.org/d3.v3.min.js"></script>  
  2. <div align="center" id="chart"></div>  
  3. <script type="text/javascript">  
  4. //Width and height  
  5. var w = 300;  
  6. var h = 300;  
  7. var dataset = [10, 10, 10, 10, 10];  
  8. var outerRadius = w / 2;  
  9. var innerRadius = 0;  
  10. var arc = d3.svg.arc()  
  11.                 .innerRadius(innerRadius)  
  12.                 .outerRadius(outerRadius);  
  13. var pie = d3.layout.pie();  
  14. //Easy colors accessible via a 10-step ordinal scale  
  15. var color = d3.scale.category10();  
  16. //Create SVG element  
  17. var svg = d3.select("#chart")  
  18.             .append("svg:svg")  
  19.             .attr("width", w)  
  20.             .attr("height", h);  
  21. //Set up groups  
  22. var arcs = svg.selectAll("g.arc")  
  23.               .data(pie(dataset))  
  24.               .enter()  
  25.               .append("g")  
  26.               .attr("class""arc")  
  27.               .attr("transform""translate(" + outerRadius + "," + outerRadius + ")");  
  28. //Draw arc paths  
  29. arcs.append("path")  
  30.     .attr("fill"function(d, i) {  
  31.         return color(i);  
  32.     })  
  33.     .attr("d", arc);  
  34.   
  35. //Labels  
  36. arcs.append("text")  
  37.     .attr("transform"function(d) {  
  38.         return "translate(" + arc.centroid(d) + ")";  
  39.     })  
  40.     .attr("text-anchor""middle")  
  41.     .text(function(d) {  
  42.         return d.value;  
  43.     });  
  44. </script>  

จากโค้ดตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเราเลือกพื้นที่วาดกราฟบน #chart และเราสร้าง <div id="chart"></div> ไว้สำหรับวาดกราฟทำให้เราสามารถ post กราฟโดยใช้ D3.js ไว้บน blog ของเราได้ :')

ผลลัพธ์ที่ได้



ปล. ชื่อ chart สามารถเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้โดยชื่อใน <div id="???"></div> และใน d3.select("#???") ต้องเหมือนกัน . . . *

Tuesday, March 3, 2015

Data Visualization | Electric Energy Impact

 Electric Energy 
 พลังงานไฟฟ้า 
   ถ้าวันหนึ่ง "ไฟฟ้า" หมดไป . . . จะเป็นอย่างไร?
   มีคำตอบมากมายแน่ๆสำหรับคำถามนี้ มนุษย์คงจะดำเนินชีวิตได้ต่อไป แต่ต้องลำบากขึ้นแน่ๆ เพราะทุกวันนี้สิ่งที่เรียกว่า "ไฟฟ้า" แทบจะเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

IMPACT!!

   ไม่มีหลอดไฟให้ความสว่าง
   ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต
   ไม่มีหม้อหุงข้าว ไม่มีตู้เย็น ไม่มีโทรทัศน์
   ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น

   ไฟฟ้า เป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในประเภทที่เรียกว่า "พลังงานใช้แล้วหมดไป"

การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

 น้ำมันเตา 4.80%  |  น้ำมันดีเซล 0.25% ถ่านหินลิกไนต์ 7.24% ก๊าซธรรมชาติ 87.71%


พลังงานสำรองของโลกใช้ได้อีกกี่ปี??
น้ำมัน 42 ปี
ก๊าซธรรมชาติ 64 ปี
ถ่านหิน 220 ปี
   พลังงานสำรองเช่นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติเหลือให้เราใช้ได้ไม่ถึงศตวรรษ (100 ปี) แล้วในปัจจุบันเนื่องจากไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลกที่มีอัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงมากขึ้นเรื่อยๆทุกๆปีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณพลังงานสำรองของโลกกลับลดลงเรื่อยๆโดยแม้จะมีพลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนเข้ามาแต่ในปัจจุบันเราไม่สามารถใช้มันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากนัก

การใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศ รายไตรมาส (GW/h)
การใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศ รายปี (GW/h)
จะเห็นได้ว่าประเทศเรานั้นมีแนวโน้มความต้องการใช้งานไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ

10 จังหวัดที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ รายปี (GW/h)

 อัตราส่วนการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย
 พลังงานความร้อน 10.5%  |  น้ำมพลังงานความร้อนร่วม 24.2% |  พลังงานน้ำ 9.9% |  อื่นๆ 55.4%
  IMPROVE!!
   แล้วเราจะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างไร?
   สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ง่ายๆคือ "ประหยัดไฟ" อย่างที่เค้ารณรงค์เรื่องการประหยัดไฟกันทั่วโลกการใช้วิธีนี้หากเราทำคนเดียวค่าไฟเราอาจจะลดได้ไม่กี่บาทแต่หากเราช่วยกันทำทั้งประเทศ? ช่วยกันทำทั้งโลก? โลกเราจะยังมีพลังงานให้ใช้ไปได้นานขึ้นระหว่างที่เรากำลังวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนที่ยังไม่สามารถใช้ได้เต็มที่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

INSPIRATION!!
   แล้วเราจะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างไร?
   "พลังงานทดแทน" ในปัจจุบันนี่เราคงมีโอกาสได้เห็นพลังงานทางเลือกอย่างเช่น รถยนต์ไฮบริด ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเข้ามาทดแทนพลังงานน้ำมัน แต่มันยังไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่จำเป็นต้องมีน้ำมันใช้ร่วมด้วย (ไฮบริด) เพราะเนื่องจากเราสามารถเติมน้ำมันได้เร็วกว่าการชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอร์รี่นั่นเอง และสถานีชาร์จแบตเตอร์รี่ยังไม่มีแพร่หลายเท่าสถานีเต็มน้ำมันแน่ๆ

   "พลังงานแสงอาทิตย์" นับว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาดเนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อโลกของเราโดยนำแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยปัจจุบันแผงโซล่าเซลล์ขนาด 1 ตารางเมตรจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 4-5kWh เท่านั้นจะต้องใช้พื้นที่ 32 ล้านตารางกิโลเมตรในการผลิตไฟฟ้าให้พอกับคนทั้งประเทศต้องการ แม้ว่าการสร้างจริงอาจเป็นไปได้แต่หากคิดเรื่อง การดูแลรักษา และเงินลงทุนแล้วในปัจจุบันยังไม่เกิดความคุ้มค่าในการนำไปใช้แบบจริงจัง

   "พลังงานน้ำ" เป็นพลังงานสะอาดอีกอย่างหนึ่งแต่พลังงานน้ำในปัจจุบันสามารถหาได้จากเขื่อนเพียงอย่างเดียว (อาจมีพลังงานที่ได้จากคลื่นในต่างประเทศ) และความคุ้มค่าในการลงทุนกับพลังงานที่ได้มานั้นยังไม่เกิดความคุ้มค่าในการนำไปใช้จริงเช่นกันเนื่องจากต้องทำลายป่ามากมาย เพื่อสร้างเขื่อนและยังใช้พื่นที่มาก และยังไม่สามารถผลิตได้ตลอดเวลาอีกด้วยแต่ปัจจุบันมีการสร้างเขื่อนพลังงานนน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เป็นเขื่อนที่กั้นแม่น้ำแยงซีเกียงชื่อเขื่อนสามผา ผลิตไฟฟ้าได้ 1820 kWh

   "พลังงานลม" พลังงานลมค่อนข้างมีเห็นน้อยในประเทศไทยเนื่องจากมีการลงทุนสูงและมีเสียงดังถึงจะเป็นพลังงานที่สะอาดแต่ลมไม่ได้มีตลอดเวลา ในประเทศไทยจึงนิยมการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ซะส่วนใหญ่

   "พลังงานชีวมวล" พลังงานที่ได้มาจากการนำสิ่งเหลือใช้จากธรรมชาติมาใช้ในการสร้างกระแสไฟฟ้าด้วยกันนำไปเผาโดยข้อมูลจากกระทรวงพลังงานเคยมีบทความว่าประเทศไทยผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวลได้ประมาณ 300MW
   โดยชีวมวลหากไม่นำไปใช้จะทำให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งอันตรายกว่าก๊าซคาร์บอนได้ออกไซน์ 21 เท่า

   จากการสรุปพลังงานทดแทนในแต่ละรูปแบบมีเพียงแค่พลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้นที่สามารถนำมาใช้งานจริงได้ในปัจจุบันถึงจะยังไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่โดยพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถใช้ในบ้านได้ในปัจจุบันยังมีราคาสูงประมาณ 200000 บาทและส่วนใหญ่ใช้แค่เพียงเพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในบ้านเท่านั้น เนื่องจากถ้านำไปใช้จริงยังให้พลังงานได้ไม่เพียงพอกับบ้านทั่วไปที่มี แอร์ คอมพิวเตอร์ ทีวี เตารีด เครื่องซักผ้า ซึ่งกินพลังงานไฟฟ้ามากกว่าที่พลังงานจากแสงอาทิตย์จะให้ได้

   หากเราช่วยกันประหยัดพลังงานเราก็จะมีมันใช้ไปได้อีกนาน ในระหว่างที่พลังงานทดแทนกำลังเข้ามามีบทบาทและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตเตาปฏิกรอาร์คลูกเล็กที่ให้พลังงานได้มากมายอาจไม่ได้มีเพียงแค่ในหนัง IRON MAN







ref
http://www.energy.go.th/
http://www.egat.co.th/
http://www.eppo.go.th/vrs/VRS55-06-biomass.html