ปัญหาจากขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอย?
ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะ
ปัญหาไฟไหม้
จากปัญหาขยะมีจำนวนมากกว่าสถานที่กำจัดทำให้บ่อขยะกลายเป็นสถานที่พักขยะส่วนเกินเหล่านั้น จากในตอนแรกออกแบบเป็นแบบฝังกลบ(landfill) ก็กลายเป็นพื้นที่ทิ้งขยะแบบกลางแจ้ง(open dump) ซึ่งการนำขยะมาพักไว้กลางแจ้งนี้เองที่เป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหมบ่อขยะ
• จำนวนครั้งที่เกิดไฟไหม้บ่อพักขยะ
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาการใช้น้ำเสียจากขยะนั้น เกิดจากการที่นำขยะมูลฝอยไปทิ้งไม่ถูกวิธี เช่น เอาไปกองรวมกันไว้ตามสถานที่ต่างๆ ทำให้เกิดการหมักหมมเนื่องจากขยะมูลฝอยประกอบด้วยเศษอาหาร และของเน่าเสีย เมื่อฝนตกชะลงมารวมกับขยะก็ก็กลายเป็นน้ำเสียไหลลงสู่ผิวดินส่งผลให้ และซึมลงแหล่งน้ำใต้ดินอีกด้วย
แนวทางการแก้ปัญหา
- แยกขยะก่อนทิ้ง ไม่ทิ้งขยะไว้นอกถังขยะ เลือกใช้ถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
- กรองเศษอาหารก่อนทิ้ง และใช้ดักไขมัน โดยนำเศษอาหารและไขมันที่กรองไว้ไปใช้ทำเป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ต่อไป
ปัญหานี้หากเกิดในชุมชนอาจไม่ใช้เรื่องใหญ่โต เพราะเห็นกันมาจนชินตา แต่สำหรับจังหวัดที่แหล่งท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักคงไม่ใช้เรื่องเล็กน้อย การทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางทำให้เกิดการหมักหมมเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู แมลงสาบ ทั้งยังส่งกลิ่นเหม็น และทำลายทัศนียภาพแก่ผู้ที่สัญจรไปมาา
- รณรงณ์การแยกขยะ เช่น 3R (Reduce, Reuse และ Recycle)
- เพิ่มจำนวนถังขยะให้มากขึ้น
สาเหตุของการเกิดปัญหาจากขยะมูลฝอย
ปริมาณ ปริมาณ ปริมาณ ปริมาณ ปริมาณ
ปริมาณ สาเหตุของปัญหา ด้วยปริมาณของขยะมูลฝอยที่มีมากเกินไป เกินกว่าที่เราจะสามารถได้อย่างถูกวิธี
ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นตังแต่ปี 2008 ถึง 2014
ขยะจากชุมชน Vs ขยะจากอุตสาหกรรม
ระยะเวลาที่ขยะใช้ในการย่อยสลาย?
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย?
• การผลิตและใช้เกินความจำเป็น• ประชาชนยังกลัวขยะ ไม่มีใครอยากให้มีบ่อขยะ หรือโรงกำจัดขยะอยู่ใกล้บ้าน
• ภาครัฐยังไม่มีสถานที่และวิธีการกำจัดขยะที่ถูกต้อง
- จากกราฟจะเห็นได้ว่าแหล่งกำจัดขยะที่ถูกต้องนั้นมีเพียง 466 แห่งหรือเพียง 19% เท่านั้น แต่แหล่งกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องมีถึง 2024 แห่งหรือ 81% นี่เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ขยะมูลฝอยมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโดยเตาเผาขนาดใหญ่ที่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ มีเพียง 2 แห่งเท่านั้นและ เตาเผาขนาดเล็กที่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ (10ตัน/วัน) มีเพียง 8 แห่ง
• คนยังมองขยะมีค่าน้อย ขยะบางชนิดสามารถนำไปขายได้ ขวด เศษกระดาษ
• เทคโนโลยีที่ใช้ในการกำจัดขยะ ยังสามารถกำจัดได้แค่ขยะที่แยกแล้ว
แล้วขยะมาจากไหน?
ชนิดของขยะ แบ่งตามแหล่งกำเนิด
• ขยะชุมชน เช่น เศษอาหาร กระดาษ พลาสติก องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กทม. เทศบาล อบต. โดยที่ทิ้งขยะเทศบาล มี 2000 กว่าแห่ง กำจัดได้ถูกต้อง 400 กว่าแห่ง ส่วนใหญ่จะเอาไปกองทิ้งไว้ ไม่ได้ฝังกลบ หรือเปิดโล่งทิ้งไว้ เพราะจะถูกน้ำ เน่าเสีย มีกลิ่นและเชื้อโรค และถมไปเรื่อยๆ ที่ทิ้งขยะเต็ม
• ขยะจากโรงพยาบาล (ขยะติดเชื้อ) กรมควบคุมมลพิษ มีหน้าที่ประสานกับกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลว่าโรงพยาบาลจะกำจัดเอง หรือจะส่งให้กับโรงกำจัดขยะของเอกชนกำจัด
• ขยะจากอุตสาหกรรม ขยะจากโรงงานมี พรบ. โรงงานควบคุมอยู่แล้ว แต่ที่ยังมีปัญหาเพราะ โรงกำจัดขยะไม่ทั่วถึงไม่สามารถกำจัดขยะให้ได้กับทุกโรงงาน จึงเกิดการลักลอบนำขยะไปทิ้งรวมกับบ่อขยะชุมชน
แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง?
โดยจากชนิดของขยะข้างต้นนั้นสิ่งที่เราทุกคนนั้นสามารถทำได้คือการลดปริมาณขยะ (ขยะชุมชน) ทิ้งให้น้อยลง 3R (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อให้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอน้อยลง ทำให้ลดภาระท้องถิ่นที่มาจัดการ
การจัดการขยะด้วยวิธี 3R
ประเภทของขยะ เราแบ่งขยะได้เป็น 4 ประเภท คือ
• ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษวัชพืช เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ฯลฯ สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้
• ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ฯลฯ
• ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้และไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น โฟม ซองบะหมี่สำเร็จรูป เศษหิน เศษปูน ฯลฯ
• ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย และขยะติดเชื้อ ฯลฯ ขยะเหล่านี้ต้องเก็บรวบรวม
แล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
การจัดการขยะด้วยวิธี 3R
ประเภทของขยะ เราแบ่งขยะได้เป็น 4 ประเภท คือ
• ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษวัชพืช เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ฯลฯ สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้
• ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ฯลฯ
• ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้และไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น โฟม ซองบะหมี่สำเร็จรูป เศษหิน เศษปูน ฯลฯ
• ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย และขยะติดเชื้อ ฯลฯ ขยะเหล่านี้ต้องเก็บรวบรวม
แล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
จะลดปริมาณขยะได้อย่างไร?
การแยกขยะ? โดยความหมายคือการแยกขยะไปที่นำไปรีไซเคิลได้ไปขาย นอกจะเพิ่มรายได้ให้กับเราแล้ว ยังสามารถลดปริมาณ ขยะ ที่ต้องนำไปกำจัดอีกด้วย
ลดปริมาณขยะด้วยหลักการสามประการ ( 3R ) คือ
กราฟแสดงปริมาณขยะที่ลดลง
- ลดการใช้ (Reduce)
- การใช้ซ้ำ(Reuse)
- การรีไซเคิล (Recycle)
ข้อดีของการแยกขยะด้วยวิธี 3R
ยกตัวอย่าง: จังหวัดกรุงเทพมหานคร
1. กทม. มีภาระในการกำจะดขยะวันละ 8,700 ตัน/วัน เเสียค่าใช้จ่ายในการกำจักตันละ 1,000 บาท คิดเป็น 8,700,000 บาท/วัน
ซึ่งถ้าเรานำขยะมารี"ซเขิลก่อนทิ้งรวมกับขยะอื่น จะสามารถช่วยประหยัดงบการจัดการขยะมูลฝอย และลดปริมาณขยะได้ถึง 30%
หรือประมาณ 2,700 ตัน/วัน ช่วยประหยัดงบประมาณได้ 2,700,000 บาท/ปี
2. ประหยัดพื้นที่รองรับและกําจัดมูลฝอย การคัดแยกและนําขยะกลับมารีไซเคิล สามารถลดปริมาณ ขยะที่ต้องกําจัดโดยการฝังกลบถึง 2.6 ล้านตัน/ปี ประหยัดพื้นที่ฝังกลบได้อย่างน้อย ปีละกว่า 500 ไร่(ประเมินจากการฝังกลับอย่างถูกหลักสุขาภิบาล โดยการขุดหลุมลึกชั้ นละ 3 เมตรสูง 3 ชั้น และใช้ความหนาแน่นขณะบดอัด400KG/m3)
3. การนําวัสดุรีไซเคิลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น ลดต้นทุนด้านพลังงานในการหลอมประมาณ
ร้อยละ 15
ราคาของขยะที่นำไปรีไซเคิลได้
3. การนําวัสดุรีไซเคิลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น ลดต้นทุนด้านพลังงานในการหลอมประมาณ
ร้อยละ 15
ราคาของขยะที่นำไปรีไซเคิลได้
1.แก้ว | ขายได้ 1.70 บาท/กิโลกรัม |
2.สังกะสี | ขายได้ 6 บาท/กิโลกรัม |
3.พลาสติก | ขายได้ 13.5 บาท/กิโลกรัม |
4.กระดาษ | ขายได้ 5 บาท/กิโลกรัม |
5.อะลูมิเนียม | ขายได้ 35 บาท/กิโลกรัม |
6.เหล็ก | ขายได้ 8 บาท/กิโลกรัม |
7.ทองแดง | ขายได้ 220 บาท/กิโลกรัม |